วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีทางการแพทย์


               เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง
 โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเป็นโรคที่พบบ่อย และเป็นมัจจุราชเงียบที่คร่าชีวิตประชากรโลกในแต่ละปีเป็นอันดับต้นๆโรคนี้เกิดจากการที่หลอดเลือดโคโรนารีซึ่งส่งเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการตีบแคบหรือถูกอุดกั้น ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และออกซิเจน เมื่อผู้ป่วยเกิดสภาวะหลอดเลือดอุดตันก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลังกาย และหากหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการอุดตันอย่างสมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน (Acute heart attack) และเสียชีวิตได้ในที่สุด ดังนั้น ยิ่งตรวจเจอโรคนี้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งช่วยรักษาชีวิตให้ยืนยาวได้มากขึ้นเท่านั้น



















       ารวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบสามารถทำได้โดยการตรวจร่างกาย ประวัติความเจ็บป่วย และการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น Electrocardiography (คลื่นไฟฟ้าหัวใจ) Echocardiography (Ultrasound heart) Magnetic resonance imaging (MRI) เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (Multi detector computed tomography) หรือ การตรวจสวนหัวใจ (Cardiac catheterization) ซึ่งถือเป็น Gold Standard ในการตรวจหลอดเลือดหัวใจโดยตรง เพราะเห็นพยาธิสภาพที่เกิดในหลอดเลือดหัวใจอย่างชัดเจน แต่วิธีการนี้อาจจะไม่สะดวกสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแต่มีอาการน่าสงสัย เพราะจะต้องสอดใส่อุปกรณ์การตรวจเข้าไปภายในร่างกาย
ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่เจริญก้าวหน้า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed Tomography) จึงได้รับการพัฒนาอย่างมากจนเป็น Multi slice CT scan (MSCT) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยนวัตกรรมล่าสุด คือ เครื่อง 256-slice multi-detector CT scan ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และด้วยความพร้อมด้านการแพทย์ระดับแนวหน้าผสานกับประสบการณ์การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดมากที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค วันนี้โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ พร้อมแล้วที่จะก้าวไปสู่การตรวจรักษาโรคหัวใจแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูงสุด 256-slice multi-detector CT scan เครื่องแรกในประเทศไทย
256-slice multi-detector CT scan ได้รับการพัฒนาจากเครื่อง 64-slice CT scan ที่ถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตั้งแต่ปี 2547 แม้ว่าเครื่อง 64- slice CT scan จะสามารถใช้อย่างได้ผลและสะดวกขึ้นเมื่อเทียบกับการตรวจสวนหัวใจ ทั้งยังสามารถบอกปริมาณคราบหินปูนที่จับเกาะอยู่ในผนังหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นตัวพยากรณ์ความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน อนาคตร่วมกับปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้ แต่เครื่อง 64-slice CT scan ก็ยังมีข้อจำกัดในการตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้น ของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดอื่นๆ
ดีอย่างไร
256-slice multi-detector CT scan สามารถใช้ตรวจหาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ในผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 70 ครั้งต่อนาที เครื่องนี้ยังมีข้อดีกว่าคือให้ภาพผลการตรวจที่คมชัดกว่า ครอบคลุมอาณาบริเวณของอวัยวะที่ต้องการตรวจมากกว่า มีความแม่นยำสูง เวลาที่ใช้ในการตรวจน้อยกว่า อีกทั้งการหมุนของเครื่องสแกนต่อรอบกินเวลาเพียง 0.27 วินาที ทำให้ผู้ป่วยได้รับรังสีเอกซเรย์ในการรับการตรวจวินิจฉัยโรคน้อยลงถึง 80%
256-slice multi-detector CT scan จะแสดงภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เช่น หัวใจ ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงจนสามารถใช้ตรวจดูภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจปริมาณการสะสมของหินปูนในผนังหลอดเลือด และความผิดปกติของหลอดเลือดได้ในคราวเดียวกัน ทั้งยังให้ผลเบื้องต้นที่รวดเร็วกว่า เนื่องจากใช้เวลาในการตรวจน้อยกว่า และข้อมูลจากการตรวจจะได้รับการแปลผลโดยรังสีแพทย์และอายุรแพทย์โรคหัวใจ ทำให้ทราบผลได้เร็ว (ภายในเวลาเพียง 1-2 ชั่วโมงกรณีเร่งด่วน)
เหมาะกับใครบ้าง
การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง 256-slice multi-detector CT scan จึงนับเป็นวิธีตรวจวินิจฉัยที่เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่ชัดเจน เพราะวิธีนี้ทำได้รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปริมาณคราบหินปูนเกาะอยู่บริเวณผนังของหลอดเลือดโคโรนารีไม่มากนัก
กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ไม่ว่าจะเป็นชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะของการเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ เครียด ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ว่าควรระมัดระวัง และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพราะโรคนี้อันตรายถึงชีวิต
การปฏิบัติตัวเพื่อรับการตรวจ
1.               งดอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ก่อนการตรวจหลอดเลือดหัวใจ (coronary angiogram) ในการตรวจหาปริมาณหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือด (calcium scoring)ไม่ต้องงดอาหารก่อนตรวจ
2.               หากมียาที่รับประทานประจำ ให้รับประทานยาได้ตามปกติจนถึงเช้าวันตรวจ
3.               ควรดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน หลังการตรวจ

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cell transplantation) เป็นวิทยาการความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ ที่สามารถรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงหลายชนิดให้มีโอกาสหายขาดได้ โดยความสำเร็จขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้ป่วย การมีผู้บริจาค stem cell ที่เหมาะสม ประสบการณ์ความพร้อม ความเชี่ยวชาญของแพทย์ และพยาบาลผู้ดูแลรักษา และที่สำคัญคือกำลังใจจากบิดามารดา ผู้ปกครอง และญาติพี่น้องของผู้ป่วย หรือจากบุคคลใกล้ชิด
เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Hematopoietic stem cells) คืออะไร ?
คือ เซลล์ตัวอ่อน หรือเซลล์ต้นกำเนิด (parent cells) ที่อยู่ในไขกระดูก ซึ่งสามารถเจริญเติบโต และแบ่งตัวพัฒนาไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่างๆ คือ
1.               เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย
2.               เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ต่อต้าน และทำลายเชื้อโรคต่างๆ ที่รุกรานร่างกาย
3.               เกร็ดเลือด มีหน้าที่ห้ามเลือดจากบาดแผล ช่วยให้เลือดหยุดไหล
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem Cell Transplantation) คืออะไร ?
คือ การเปลี่ยนหรือแทนที่ stem cell ที่ผิดปรกติด้วย stem cell ที่ปรกติ Stem cell ที่ปรกตินั้นได้มาจากผู้บริจาค และนำมาให้แก่ผู้ป่วย (ผู้รับ) หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาขนาดสูง ที่เรียกว่า "การเตรียมสภาพผู้ป่วย" (Conditioning) ซึ่งใช้เวลานาน 5-9 วัน แล้วแต่โรค และสภาพของผู้ป่วย
ในผู้ป่วยโรคมะเร็ง เหตุผลที่ผู้ป่วยต้องได้รับการเตรียมสภาพก็เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่ยังเหลือซ่อนเร้นในร่างกาย ในเด็กที่ป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรม การเตรียมสภาพเพื่อทำให้เกิดที่ว่างในไขกระดูกผู้ป่วย เพื่อให้ stem cell จากผู้บริจาคมีที่ที่จะเจริญเติบโต และเพื่อกดภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยไม่ให้ต่อต้าน stem cell ของผู้บริจาค ต่อจากระยะการเตรียมสภาพ จะเป็นระยะเวลาของการปลูกถ่าย โดยการให้ stem cell เข้าไปในตัวผู้ป่วยผ่านทางสายสวนเส้นเลือดดำใหญ่ ด้วยวิธีการคล้ายคลึงกับการให้เลือด (blood transfusion) ไม่จำเป็นต้องฉีดโดยตรงเข้าไปในไขกระดูกผู้ป่วย Stem cell นั้นจะไหลเวียนในกระแสเลือดผู้ป่วย และเข้าไปอยู่ในไขกระดูกได้เอง จากนั้นจะเริ่มเจริญเติบโตต่อไป
ใครควรได้รับการปลูกถ่าย stem cell ?
1.               ผู้ป่วยที่เป็นโรคของไขกระดูกหรือความบกพร่องหรือผิดปรกติของเซลล์ในไขกระดูก เช่น โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง โรคโลหิตจางเบต้าธาลัสซีเมีย โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องแต่กำเนิด
2.               ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งบางชนิด ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็ง
ต่อมหมวกไต มะเร็งเนื้อเยื่อ
3.               ผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือมีความผิดปรกติทางเมตาบอลิคบางชนิด
แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตหาได้จากไหน ?
1.               ไขกระดูก โดยการเจาะดูดไขกระดูกที่บริเวณกระดูกเชิงกราน (กระดูกสะโพก) ด้านหลัง ผู้บริจาคจำเป็นต้องได้รับการวางยาสลบขณะที่ทำการดูดไขกระดูก หลังการบริจาค เซลล์ในไขกระดูกจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นมาทดแทนได้เอง ไม่มีการสูญเสียอวัยวะ หรือสมรรถภาพใดๆ ทั้งสิ้น
2.               กระแสเลือด โดยฉีดยากระตุ้น G-CSF ให้เซลล์ในไขกระดูกแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แล้วออกมาไหลเวียนในกระแสเลือด จากนั้นนำเลือดของผู้บริจาคผ่านเครื่องมือคัดแยก stem cell เก็บไว้ แล้วคืนเลือด และพลาสมากลับสู่ร่างกายผู้บริจาค เป็นวิธีที่ผู้บริจาคจะรู้ตัวดีตลอด ไม่ต้องวางยาสลบ ลักษณะการบริจาคคล้ายคลึงกับการบริจาคโลหิต
3.               เลือดจากสายสะดือ และรกของเด็กทารกแรกเกิด ซึ่งวงการแพทย์ค้นพบว่าอุดมไปด้วยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต เป็นการนำสิ่งที่เคยถูกละทิ้งไปในอดีตมาทำให้เกิดประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วย วิธีการทำโดยการเก็บทันทีหลังจากทารกเพิ่งคลอด และผูกตัดสายสะดือแล้ว ด้วยวิธีปราศจากเชื้อโรค และป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือด จากนั้นทำการเตรียม และเก็บสงวน cord blood ไว้ในสภาพแช่แข็งในถังไนโตรเจนเหลวที่อุณหภูมิเย็นจัด
ใครสามารถเป็นผู้บริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต ?
ผู้บริจาค stem cell ควรเป็นผู้ที่มีหมู่เนื้อเยื่อ HLA 6 หมู่หลักตรงกันหรือเข้ากันได้กับผู้ป่วยจึงจะมีโอกาสปลูกถ่ายติดสำเร็จสูง และเกิดภาวะแทรกซ้อน Graft-versus-Host disease (GvHD) น้อยหรือไม่เกิดเลย หมู่ HLA หรือ Human Leukocyte Antigen หลักดังกล่าวประกอบด้วย HLA-A, -B, -DR อย่างละ 2 ตำแหน่ง
ผู้บริจาคส่วนใหญ่ที่หาได้มักจะเป็นพี่หรือน้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ป่วย เนื่องจากโอกาสที่พี่น้องจะมี HLA ตรงกันทุกประการเท่ากับร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ส่วนตัวบิดามารดาเองจะมี HLA ตรงกับผู้ป่วยเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
ถ้าผู้ป่วยเป็นบุตรคนเดียว หรือไม่มีพี่น้องที่มี HLA ตรงกัน แพทย์สามารถสรรหาผู้บริจาคที่เป็นอาสาสมัคร (Unrelated, volunteer donor) ได้จากศูนย์กลางการขึ้นทะเบียนอาสาสมัครบริจาค stem cell คนไทยที่เรียกว่า National Stem Cell Donor Registry ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย นอกจากนี้ ศูนย์ฯ ยังเป็นสื่อกลางในการติดต่อแสวงหาผู้บริจาคจากต่างประเทศด้วย
กระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิตโดยสังเขป
หลังจากผู้ป่วยได้รับการเตรียมสภาพ และได้รับการปลูกถ่าย ต้องใช้เวลานาน 2-3 สัปดาห์กว่าที่ stem cell ใหม่จะเริ่มปลูกติด ผู้ป่วยต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ในห้องเดี่ยวปลอดเชื้อที่ติดตั้งเครื่องกรองเชื้อโรค ฝุ่นละออง และเป็นแรงดันบวก ผู้ป่วยได้รับการเฝ้าระวังป้องกันรักษาภาวะแทรกซ้อน ต้องได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ ต้องได้รับเลือด และเกร็ดเลือดที่ผ่านการเตรียมอย่างพิเศษ ได้รับยาช่วยกระตุ้นการปลูกถ่ายติด และยากดภูมิต้านทานเพื่อป้องกันภาวะ GvHD ผู้ป่วยบางรายต้องได้รับสารอาหารทางหลอดเลือด ผู้ป่วยมักต้องพักอยู่ในโรงพยาบาลนานประมาณ 6-8 สัปดาห์จึงจะฟื้นตัวแข็งแรงพอที่จะสามารถกลับบ้านได้

เครื่องช่วยในการผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์สร้างภาพแบบสามมิติ (O-Arm)
O-Arm คือ Stealth) มาช่วครื่องช่วยในการผ่าตัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์สร้างภาพแบบสามมิติ ที่เรียกว่า เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โออาร์ม” (O-Arm) ทำงาน ร่วมกับเครื่องมือผ่าตัดนำวิถี (Navigation system) มีชื่อเรียกว่า สเต็ลท์” (ยผ่าตัดได้แม่นยำและ ปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเครื่องแรกในประเทศไทย
ข้อดีของเครื่องโออาร์ม คือ เป็นเครื่องที่สามารถเข็นไปในห้องผ่าตัดคร่อมตัวคนไข้เพื่อถ่ายภาพในท่านอนท่าไหนก็ได้ นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายรูปได้หลายรูป และหลายมุม ทั้งด้านบน ด้านล่าง และด้านข้าง รวมทั้งสามารถถ่ายรูปได้ 600 รูป ภายในเวลา 10 วินาที ทำให้ได้รูปมากและมีข้อมูลดี ซึ่งเราสามารถนำภาพนี้มาแสดงเป็นภาพสามมิติ ถือเป็นการช่วยในการผ่าตัดได้แม่นยำยิ่งขึ้น
นอกจากนี้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ฯ ยังสามารถสร้างภาพแบบสามมิติบันทึกภาพในขณะผ่าตัดกระดูกสันหลังจริงขณะที่ผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียง ผ่าตัด ซึ่งเป็นภาพที่ชัดเจน และแสดงตำแหน่งของกระดูกสันหลังอย่างละเอียดและแปลงภาพออกมาในรูปแบบแอนิเมชั่นสามมิติ โดยขณะแพทย์เคลื่อนไหวเครื่องมือขณะผ่าตัดจะมองเห็นการทำงานในขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การใส่โลหะในกระดูกสันหลัง และที่สำคัญยังทำให้แพทย์กำหนดตำแหน่งที่ปลอดภัยในการวางเครื่องมือต่างๆ ได้ด้วยความแม่นยำสูงแม้ว่ากระดูกสันหลังจะผิดรูปก็ตาม
โดยเครื่องสร้างภาพแบบสามมิตินี้จะใช้ร่วมกับระบบนำวิถีสเต็ลท์ เพื่อนำข้อมูลจากภาพสามมิติที่ได้มา ช่วยศัลยแพทย์ในการประเมินระยะที่สามารถเข้าถึงบริเวณที่ต้องการผ่าตัดได้แม่นยำ และรวดเร็ว โดยไม่ต้องเปิดแผลใหญ่ และยังเป็นผลดี ต่อบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย เนื่องจากได้รับรังสีน้อย
เครื่องมือนี้จะช่วยให้แพทย์กำหนดจุดต่างๆ ในกระดูกสันหลังได้มากถึงระดับเศษส่วนของมิลลิเมตร ทำให้สามารถวางโลหะช่วยเชื่อมกระดูกได้แม่นยำ นอกจากนี้ เครื่อง มือทั้ง 2 ยังสามารถใช้งาน ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ ที่ใช้ในการผ่าตัดจุดศัลยกรรมในสมอง ทำให้ศัลยแพทย์สามารถกำหนดตำแหน่งเนื้องอกในสมองหรือจุดต่างๆ ในสมองได้และใช้เวลาไม่มาก ซึ่งใน อนาคตจะมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการผ่าตัดสมองด้วย

ศัลยกรรมย้ายเซลล์รากผม

เป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดี และมีความปลอดภัยสูง เพราะจะใช้แค่เพียงยาชาเฉพาะที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเท่านั้น และเป็นวิธีที่แพทย์ปลูกผมทั้งหลายทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
หลักการสำคัญสำหรับการปลูกผมโดยการย้ายเซลล์ก็คือ แพทย์จะย้ายเซลล์ผมตรงบริเวณท้ายทอย หรือเซลล์ผมตรงบริเวณขมับเหนือกกหูทั้งสองข้างมาปลูกยังบริเวณศีรษะล้าน ทดแทนเส้นผมเดิมที่สูญเสียไป
เซลล์เส้นผมตรงบริเวณท้ายทอย และขมับเหนือกกหูนี้มีลักษณะพิเศษต่างจากเซลล์เส้นผมบริเวณอื่นคือเซลล์บริเวณนี้จะไม่
ตอบสนองต่อฮอร์โมนเพศชายจึงไม่เสื่อม หรือตายไปเช่นเซลล์เส้นผมบริเวณอื่น ผมที่ปลูกจึงอยู่กับเราไปตลอดชีวิต ตราบใดที่ผมตรงบริเวณ
ท้ายทอยหรือผมตรงบริเวณขมับนี้ยังอยู่ ผมที่ปลูกก็จะยังอยู่เช่นเดียวกัน เพราะมาจากที่เดียวกัน เพราะฉะนั้นเมื่อเราย้ายเซลล์รากผมไปปลูก
ยังบริเวณศีรษะล้าน เซลล์รากผมนั้นก็จะสร้างเส้นผมขึ้นมาใหม่และอยู่อย่างถาวร
ข้อดี
1.               เส้นผมที่ขึ้นใหม่เป็นเส้นผมจริงซึ่งงอกออกจากหนังศีรษะเช่นผมปกติจึงดูเป็นธรรมชาติ
2.               ผมที่ปลูกจะอยู่อย่างถาวรไปจนตลอดชีวิตเมื่อร่วงไปแล้วก็กลับขึ้นใหม่อีก
3.               ดูแลผมเหมือนปกติ สามารถสระผมได้เอง ตัดผม ย้อมผม ฯลฯ ได้ตามร้านตัดผมทั่วไป
4.               เล่นกีฬา ออกกำลังกายได้ทุกชนิดตามปกติ
5.               ผมที่ปลูกจะค่อยๆ ขึ้นอย่างช้าๆ จนยากที่คนรอบข้างจะสังเกตได้
ขั้นตอนในการทำศัลยกรรมย้ายเซลล์รากผม (Hair Transplantation)
1.               แพทย์จะออกแบบแนวผมด้านหน้าเพื่อให้รับกับใบหน้าผู้ป่วยแต่ละคน การออกแบบแนวผมนี้ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ ด้าน เช่น อายุผู้ป่วย ความต้องการของผู้ป่วย โหงวเฮ้ง เพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติ
2.               กำหนดขอบเขต และวัดขนาดพื้นที่ของบริเวณที่ต้องการปลูก เพื่อใช้คำนวณหาจำนวนกอผมที่จะต้องนำมาปลูกให้เต็มที่นั้นๆ ให้ได้ความหนาแน่นที่ต้องการ
3.               เลือกเซลล์เส้นผมตรงบริเวณท้ายทอยที่ต้องการนำมาปลูก เล็มผมตรงบริเวณนี้ให้สั้นประมาณ 1-2 มม. และกำหนดขอบเขตที่ต้องการไปปลูก
4.               ให้ยาชา และตัดผิวหนังที่มีเซลล์เส้นผมที่ออกจากหนังศีรษะจากบริเวณที่กำหนดไว้ในข้อ 3 แล้วเย็บปิดแผล ผมทางด้านหลังจะปิดบังรอยแผล ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้
5.               ชิ้นเนื้อที่ได้มานี้จะถูกนำไปแยกเซลล์ผมออกเป็นกอๆ หรือกราฟ (graft) โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope) โดยในแต่ละกอจะมีเซลล์ผมตั้งแต่ 1-4 เส้นตามธรรมชาติ
6.               ให้ยาชาตรงบริเวณที่ต้องการปลูกอีกครั้งหนึ่ง ใช้เข็มเจาะรูเพื่อฝังกอผมที่ได้เตรียมไว้ ขนาดของรูจะมีขนาดต่างๆ กันตามขนาดของกอผม
7.               นำกอผมที่แยกไว้มาฝังในรูที่เจาะไว้
8.               ตรวจดูความเรียบร้อยหลังฝังกอผมเสร็จก่อนที่จะให้ผู้ป่วยกลับบ้าน
9.               นัดผู้ป่วยมาสระผมในวันรุ่งขึ้นหลังทำ และสระผมทุกวัน วันละครั้งจนกระทั่งตัดไหม
10.         ตัดไหมแผลด้านหลัง 10-14 วันหลังปลูกผม (ยกเว้นใช้ไหมละลาย) แผลเป็นทางด้านหลังจะเล็กมากจนยากที่จะสังเกตเห็นได้
การเลือกหาศัลยแพทย์ผ่าตัดปลูกผม
** ต้องดูที่หลายปัจจัยคือ ประสบการณ์ เทคนิคการทำ ทีมที่ทำ ผลงานที่ออกมา การฝึกอบรม และคุณวุฒิของแพทย์ ซึ่งสามารถขอข้อมูลของแพทย์จากสมาคมศัลยแพทย์ปลูกผม (ไม่ใช่ศัลยแพทย์พลาสติก)

เครื่องแกมม่าไนฟ์
โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นหน่วยงานที่มีระบบการบริหาร แยกเป็นอิสระจากศูนย์อื่น และเป็นศูนย์เปิด เพื่อให้แพทย์จากโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐบาล และเอกชน สามารถมาใช้ศูนย์นี้ได้ โดยส่งผู้ป่วยมา และแพทย์ สามารถเข้ามาดูแลผู้ป่วยได้ หรือจะร่วมในการรักษา พร้อมแพทย์ประจำศูนย์ด้วยก็ได้ ศูนย์ศัลยกรรมแกมม่าสมองกรุงเทพ ได้เปิดขึ้นเป็นแห่งแรกใน Southeast Asia  นับเป็นการช่วยให้ผู้ป่วย ที่เป็นโรคทางสมอง สามารถรักษาได้โดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นการสร้างคุณภาพชีวิต ให้กลับคืนมาเหมือนเดิม หรือใกล้เคียงในระยะเวลาอันสั้น   ทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วย ไม่ต้องสูญเสียค่าใช้จ่าย มากเกินจำเป็น ในการเดินทางไปรักษาในต่างประเทศ
เครื่องแกมม่าไนฟ์ ประกอบด้วยรังสี จากต้นกำเนิดรังสีของ Cobalt - 60 จำนวน 201 ลำแสง ซึ่งพุ่งผ่านช่องทาง (Collimator) ของหมวกเกราะ (Helmet) ยิงตรงไปที่เป้าหมายในสมอง หมวกเกราะนี้ ช่วยทำให้รักษา ด้วยรังสีแม่นยำ ตรงเป้าหมายที่แท้จริง  รังสีแกมม่า ที่มีขนาดความเข้มสูง ก็จะสามารถ ทำลายพยาธิสภาพ ส่วนที่ต้องการรักษาได้ในขนาดต่างๆ ได้ และเนื้อเยื่อรอบๆ ของพยาธิสภาพ ส่วนที่ต้องการรักษา จะได้รับปริมาณรังสีน้อย และไม่เป็นอันตราย และไม่มีผลกระทบกระเทือน ต่อสมองส่วนอื่นๆ เครื่อง Gamma Knife มีชิ้นส่วน ที่เคลื่อนที่น้อยชิ้นมาก  จึงทำให้ความแม่นยำสูง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ในการรักษา ดีเยี่ยม ทั้งยังสามารถ ปิดกั้นลำแสงของรังสี  ส่วนที่จะไปทำ ให้เกิดอันตราย กับประสาทสมอง ที่สำคัญๆได้ เช่น ประสาทตา เป็นต้น เส้นผ่าศูนย์กลาง ของรูเปิดหมวกเกราะ จะมีขนาดต่างๆ กัน  ให้เลือกใช้ ขึ้นอยู่กับขนาด และรูปร่างของเนื้อเยื่อ ที่จะรักษา โดยปริมาณรังสีที่ออกมา จะมีปริมาณต่ำในขณะที่ลำแสง ที่ยิงออกมาจำนวนทั้ง 201 ลำแสง ซึ่งเป็นจำนวนสูงสุด  จะถูกยิง และพุ่งไปรวมกันที่จุดๆ เดียวตรงบริเวณเนื้อเยื่อ ที่ทำการรักษา แล้วปริมาณรังสีที่ออกมานั้น จะลดลงทันที ทำให้การรักษาเป็นไปด้วยดี ไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่ดีรอบข้าง ก่อนการดำเนินการรักษา ด้วยแกมม่าไนฟ์ จะมีการคำนวณ ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และกำหนดการวางแผน  พร้อมทั้งกำหนดความเข้ม ของรังสีให้พอเหมาะ กับขนาดพยาธิสภาพ ณ จุดที่จะทำการรักษานั้น
โดยสรุปการรักษาด้วยเครื่องแกมม่าไนฟ
เป็นวิธีการที่คุ้มค่าไม่น่ากลัว เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดรักษาด้วยการเปิดกระโหลกศีรษะ การรักษาด้วยเครื่องแกมม่าไนฟ์ จะอันตรายน้อยกว่าหรือแทบจะไม่อันตรายเลย การพักฟื้นใช้เวลา 1-2 วัน ผลแทรกซ้อนและความเสี่ยงต่อการทุพพลภาพแทบจะไม่มี ทั้งนี้ผู้ป่วยยังสามารถประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการหยุดงานหรือพักฟื้นในโรงพยาบาล
เครื่องแกมม่าไนฟ์ใช้บำบัดหรือทำลายหยุดยั้งโรคทางสมองได้ 4 กลุ่ม คือ
·         กลุ่มโรคเส้นเลือดในสมองผิดปกติ หรือเส้นเลือดขอดในสมอง
·         กลุ่มโรคเนื้องอกในสมองส่วนต่างๆ ที่อยู่ลึกจนถึงก้านมองซึ่งผ่าตัดแบบทั่วไปได้ยาก
·         กลุ่มโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาที่สมองจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย และลุกลามมาที่สมอง
·         กลุ่มอาการที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง เช่น อาการเจ็บปวดใบหน้า เนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำงานผิดปกติ, โรคลมชัก (บางชนิด) เป็นต้น